ภูมิ

ภูมิ

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่ 4


1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบ

เทียบแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน  UTP  (Unshielded Twisted Pair)

                ข้อดี
1)   ราคาถูก
2)   ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
3)   มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
                ข้อเสีย
1) ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอน   ลงไปตามความยาวของสาย ความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร
สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน STP (Shield Twisted Pair)
                ข้อดี
1)   ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
2)   ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
                ข้อเสีย
1)   มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสาย
2)   ราคาแพงกว่าสาย UTP
สายโคแอคเชียล (Coaxial)
                ข้อดี
1)   ราคาถูก
2)   มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3)   ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
                ข้อเสีย
1)  ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2)  ระยะทางจำกัด
                ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
                ข้อดี
1)  ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2)  ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3)   ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
                ข้อเสีย
1)   มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2)   ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3)   มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

2.การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร

 สามารถนำมาใช้ในองค์กรเพื่อช่วยในการบริหารองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย เพราะระบบเครือข่ายช่วยให้การส่งถึงข้อมูลทำได้รวดเร็ว แม่นยำ ทำให้สมาชิกในองค์กรสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรได้ทันสถานการณ์ 

3.หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของ

ระบบเครือข่าย (LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร

  แบบการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) การเชื่อมต่อลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก มีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจะเป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด

1)    สถานีกลาง ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทาง
2)    การสื่อสารให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้
3) โหนดหลายๆโหนดไม่มีโอกาสที่จะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้พร้อมกัน เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล

4.อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร

1)   เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ผ่าน Web Site ต่างๆมากมาย  แต่ละ Web Site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ 
2)   รูปแบบระบบห้องสมุดเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้   อ่านและค้นคว้าได้ Online 
3)  การใช้ Email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อนช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้การเรียนแบบ Online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด ความสามารถของตนเอง ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ Email หรือ Discussion group
4)  เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบเดิม แล้วพบว่าการสื่อสารทางไกลเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนให้กว้างขึ้น

5) เพิ่มทักษะการคิดอย่างมีระบบผู้เรียนที่ใช้การสื่อสารทางไกลจะมีทักษะการคิดแบบสืบสวนสอบสวน   และทักษะการคิดอย่างมีระบบเพราะลักษณะของการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผู้เรียนต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเลือกรับข้อมูลและได้สื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญ     

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่ 3
1.      ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิคส์แบ่งได้ 3 วิธี คือ
1.1 ขั้นเตรียมข้อมูล (input) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่ให้สะดวกต่อการประมวลผลมี 4 วิธี
·       การลงรหัส
·       การตรวจสอบ
·       การจำแนก
·       การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
1.2 ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ใน คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
·       2.1 การคำนวณ
·       2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
·       2.3 การสรุป
·       2.4 การเปรียบเทียบ
1.3 ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์

2.      จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
1)     บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลเลขฐาน 2 คือ 0,1
2)     ไบต์ (Byte) เรียกว่า ตัวอักขระ ,ตัวอักษร คือการนำบิตมารวมกัน
3)     ฟิลด์ (Flied) คือ การนำไบต์หลายๆไบต์รวมกันเป็น เรียกว่าเขตข้อมูล
4)     เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายๆฟิลด์มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
5)     ไฟล์ (Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
6)     ฐานข้อมูล (Database) คือ การนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่าฐานข้อมูล

3.      หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีระบบใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ 3 แบบ คือ
1)     แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
2)     แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
3)     แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
         ระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรคือ
1)     ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
2)     หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
3)     รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
4)     กำหนดระบบรักษาความปลอดภัย,กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
5)     เกิดความอิสระของข้อมูล

4.      จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
1)     การประมวลผลแบบแบตซ์  (Batch  Processing)   คือ การประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล  แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมดทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล  อาจจะเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือรายปี  เป็นต้น  เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี   การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
2)     การประมวลผลแบบเรียลไทม์  (Real - Time Processing)  คือ  การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ  บางทีอาจจะเรียกว่า  การประมวลผลแบบ  Transaction  Processing   เช่น  ระบบเงินฝาก  -  ถอนเงินด้วย  ATM  ของธนาคาร  ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน  ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า  เป็นต้น

          การประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว  เช่น  การประมวลผลการเสียภาษี  จะทำการประมวลผล  ปีต่อครั้ง  เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี  แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน  เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่  ณ  ปัจจุบัน  เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
      Hardware
เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
1.อุปกรณ์รับข้อมูล  ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลางผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard), เมาส์ (Mouse) , จอยสติกส์(Joy Stick),กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera),เครื่องอ่านบาร์โค๊ด(Barcode Reader),สแกนเนอร์(Scanner)
2.อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล คือการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลคือ
  - หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ประกอบด้วย ROM (Read Only Memory), RAM(Random Access Memory)
  - หน่วยความจำสำรอง (Second Memory) เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk),ซีดี (Compact Disk -CD),รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) , การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นต้น
3.อุปกรณ์แสดงผล ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), ลำโพง (Speaker)

      Software
เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง แบ่งเป็น        
      1. ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นระบบปฏิบัติการหรือควบคุมเครื่อง
      2. ยูติลิตี้ โปรแกรมเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง
      3. ดีไวท์ไดร์ฟเวอร์ โปรแกรมไดร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ต่อพ่วง
      4. ตัวแปลภาษา-โปรแกรมแปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาระดับสูง
                ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์สาหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สาหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สาหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สาหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
                โปรแกรม Anti-Virus ซอฟต์แวร์สาหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทาเอกสารรายงาน จัดทาแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
    People ware
        หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทางานได้ตามที่ต้องการ
    Data
คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
Information

คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนาเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย


2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่Hardware, Software และ People ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ร้านขายของสะดวกซื้อ
         Hardware
-    เครื่องบันทึกเงินสด ( Electronic Cash Register หรือ ECR) หน้าที่ของมันคือ คำนวณเงินที่ขายสินค้าได้ เครื่องนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลดิบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง เพราะทันทีที่สินค้าถูกขายออกไป ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้น ประเภท ยี่ห้อ ราคา จำนวน ข้อมูล เหล่านี้จะถูกส่งไปยังเครื่องพีซี ที่ตั้งอยู่ หลังร้าน
-   สแกนบาร์โค้ด (Bar code reader) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลัง เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย จึงเกิดแนวคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นแบบแท่งรหัสสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ซึ่งนำไปใช้พิมพ์ในรหัสสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกในการเช็คสินค้าคงเหลือ รวมไปถึงการคิดเงิน มีหลายรูป เช่น แบบมีด้ามจับคล้ายปืน
-    เครื่องพีซี จะทำหน้าที่จัดการข้อมูลภายในร้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารเงิน บริหารสินค้า
-   กล้องวงจรปิด ไว้ตรวจสอบบันทึกระบบความปลอดภัย ภายในร้าน
     Software
-   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ระบบบริหารคลังสินค้า ระบบสต็อก 
    People ware
-    พนักงานประจำร้านบุคคลากรในด้านงานคอมพิวเตอร์ สำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำตามที่ต้องการ 

3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
Data

Information